วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

นางสาว วิภาพร บุญเพ็ง บัชชี 1/3


บทที่ 5
การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย


ตอนที่ 1

1. อธิบายความหมายของ ระบบการสื่อสารข้อมูล
         
  การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับโดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจ ซึ่งกันและกัน 



2. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารมีอะไรบ้าง
          องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1.ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล
2.ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล
3.ข้อมูล
4.ช่องทางการสื่อสาร
5.โปรโตคอล

      


3.สัญญาณอนาล็อกต่างจากสัญญาณดิจิตอลอย่างไร

       สัญญาณอนาลอก (Analog Signal) หมายถึงสัญญาณข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuouse Data) มีขนาดของสัญญาณไม่คงที่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป มีลักษณะเป็นเส้นโค้งต่อเนื่องกันไป โดยการส่งสัญญาณแบบอนาล็อกจะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น

สัญญาณดิจิตอล(Digital Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง(Discrete Data) ที่มีขนาดแน่นอนซึ่งขนาดดังกล่าวอาจกระโดดไปมาระหว่างค่าสองค่า คือ สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและติดต่อสื่อสารกัน

อนาล็อก กับ ดิจิตอล ต่างกันอย่างไร? อนาล็อก กับ ดิจิตอล มีความแตกต่างกันทางความต่อเนื่องของสัญญาณ และความแม่นยำของสัญญาณ


4. รูปแบบการส่งสัญญาณข้อมูลแบบ Full-Duplex เป็นอย่างไร
          การส่งสัญญาณทางคู่ (Full-Duplex หรือ Both way Transmission) การส่งสัญญาณแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกันทั้งสองทางในเวลาเดียวกัน เช่น การใช้โทรศัพท์ ผู้ใช้สามารถพูดสายโทรศัพท์ได้พร้อม ๆ กัน


5. สื่อกลางในการสื่อสารชนิดสื่อที่สามารถกำหนดเส้นทางได้เป็นอย่างไร ยกตัวอย่าง
            ตัวกลางหรือสายเชื่อมโยง เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และอุปกรณ์ที่ยอมให้ข่าวสารข้อมูลเดินทางผ่านจากผู้ส่งไปสู่ผู้รับ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันในด้านของปริมาณข้อมูลที่สื่อกลางนั้นๆ สามารถนำผ่านไปได้ในเวลาขณะใดขณะหนึ่ง การวัดปริมาณหรือความจุในการนำข้อมูลหรือที่เรียกกันว่า แบนด์วิดธ์ (Bandwidth) มีหน่วยเป็นจำนวน บิต ข้อมูลต่อวินาที (bits per second: bps)ลักษณะของตัวกลางต่างๆ เช่น
       1)สายคู่บิดเกลียว(twisted pair) 
       2)สายโคแอกเชียล(coaxial)
       3)เส้นใยนำแสง(Fiber Optic) 


6.สายโคแอกเชียลมีคุณสมบัติอย่างไร ยกตัวอย่างการนำสายชนิดนี้มาใช้งานด้านใดบ้าง
          สายโคแอกเชียล(coaxial) เป็นตัวกลางเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อจากเสาอากาศของโทรทัศน์ สายโคแอกเชียลที่ใช้ทั่วไปมี ชนิดคือ 50 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิตอล และชนิด 75 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณแอนะล็อก สายประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันกระแสไฟรั่วจากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นเปีย เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก ลวดทองแดงที่ถักเป็นเปียนี้เอง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สายแบบนี้มีช่วงความถี่สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้สูงมากและนิยมใช้เป็นช่องสื่อสารสัญญาณแอนะล็อกเชื่อมโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน 


7.เพราะเหตุใดจึงนำเอาสายเคเบิลใยแก้วนำแสงมาเป็นแกนหลัก (Backbone) ของเครือข่าย                                     
       เพราะเส้นใยนำแสง(Fiber Optic) มีแกนกลางของสายซึ่งประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือพลาสติกขนาดเล็กหลาย ๆ เส้นอยู่รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็กเท่าเส้นผมและภายในกลวง และเส้นใยเหล่านั้นได้รับการห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชั้นหนึ่ง ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวน การส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จากแตกต่างจากชนิดอื่น ๆ ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าในการส่ง แต่การทำงานของสื่อกลางชนิดนี้ จะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละเส้น และอาศัยหลักการหักเหของแสง โดยใช้ใยแก้วชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง การให้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้ว สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลสูงมาก และไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปัจจุบันถ้าใช้เส้นใยนำแสงกับระบบอีเทอร์เน็ต จะใช้ได้ด้วยความเร็วหลายร้อยเมกะบิต และเนื่องจากความสามารถในการส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นสูง ทำให้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร เสียง ภาพกราฟิก หรือวีดิทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน อีกทั้งยังมีความปลอดภัยในการส่งสูง แต่อย่างไรก็มีข้อเสียเนื่องจากการบิดงอสายสัญญาณจะทำให้เส้นใยหัก จึงไม่สามารถใช้สื่อกลางชนิดนี้ในการเดินทางตามมุมตึกได้ เส้นใยนำแสงมีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด ดังนั้นจึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคาร หรือระหว่างเมืองกับเมือง เส้นใยนำแสงจึงถูกนำไปใช้เป็นสายแกนหลัก        


8.หากไม่ต้องการใช้สายเคเบิลใยแก้วนำแสงเป็นแกนหลักของเครือข่าย จะใช้สื่อชนิดใดแทนได้ เพราะเหตุใด
           สายโคแอกเชียล  เพราะมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสายเคเบิลใยแก้วนำแสง


9.อธิบายความหมายของ "ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์"
        คือมีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เครื่องขึ้นไปที่เป็นอิสระต่อกันได้โดยไม่จำกัดและมีความชัดเจนในเรื่องของจำนวนเครื่อง


10.ประโยชน์ของระบบเครือข่ายมีอย่างไรบ้าง
          1.การใช้ทรัพยากรร่วมกัน
         2.ติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้
         3.เพิ่มความเชื่อถือ
         4.ประหยัดงบประมาณ
         5.ควบคุมและจัดสรรทรัพยากรจากส่วนกลาง
         6.เพิ่มจำนวนผู้ให้บริการและผู้ใช้ได้ตลอดเวลา
         7.อุปกรณ์(Equipment)ที่มีความแตกต่าง  สามารถใช้งานร่วมกันได้



  ตอนที่3


1.UTP
      สายยูทีพี เป็นสายคู่บิดเกลียว ไม่มีฉนวนหุ้มอีกชั้น มักใช้ในการเดินสายโทรศัพท์และระบบเครือข่ายใกล้ๆ
2.Unguided  Media
 เป็นสิ่งที่ไม่สามารถกำหนดเส้นทางได้
3.Downlink
        สัญญาณดาวลิงก์  เป็นสัญญาณป้องกันการรบกวนเข้ามา
4. Transponder
 ทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่รับมาซึ่งมีกลไก
5.Distributed  System
 คอมพิวเตอร์แบบกระจาย ผู้ใช้สามารถประมวลผลได้เองไม่ต้องมาที่ศูนย์

6.WAN
 เครือข่ายวงกว้าง  ระบบเครือข่ายที่ขยายเขตการเชื่อมต่อครอบคลุมพื้นที่ระดับระดับภูมิภาค

7.Wireless  Communication
 เครือข่ายไร้สายแบบดิจิตอล  เป็นเทคโนโลยีที่เอื้อให้สามารถทำงานได้ทุกสถานที่และทุกเวลา
8.PDA
  เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจดบันทึก เก็บข้อมูลเดือน เวลานัดหมาย หรือจัดการงานต่างๆได้สะดวกรวดเร็ว

9.
Broadcast  Network
  เป็นแบบกระจาย  ประกอบด้วย ช่องสื่อสารเพียงหนึ่งช่องซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะใช้งานร่วมกัน

10.Application  Layer
 ระดับชั้นแอฟพลิเคชั้น  เป็นระดับที่ผู้ใช้ติดต่อกันกับระบบเครือข่ายผ่านโปรแกรมประยุกต์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น